ทำความรู้จักกับประเภทของประกันชีวิต

ทำความรู้จักกับประเภทของประกันชีวิต

0 Comments
เปรียบเทียบประกันชีวิตแต่ละบริษัท

บทความนี้เราจะพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับประเภทของประกันชีวิตกัน ว่าประกันชีวิตนั้นมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทนั้นมีความเหมือนและความต่างกันที่ตรงไหน ว่าแล้วก็อย่ามัวเสียเวลา เราไปหาคำตอบนั้นพร้อมๆ กันเลย

ทำความรู้จักกับประเภทของประกันชีวิต

  • ประกันชีวิต ประเภทที่ 1 คือ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance) เป็นความคุ้มครองชีวิตระยะยาว เช่น คุ้มครองผู้เอาประกันจนถึงอายุ 90 ปี หรือมากกว่านั้น โดยบริษัทประกันจะมอบเงินครบกำหนดสัญญาให้หากผู้เอาประกันยังมีชีวิตอยู่จนครบสัญญา หรือหากผู้เอาประกันเสียชีวิตในระหว่างสัญญาบริษัทประกันจะจ่าย “เงินเอาประกันภัย” ให้แก่ผู้รับประโยชน์ ซึ่งส่วนมากก็จะเป็นคนในครอบครัว เช่น บุตร คู่สมรส หรือบิดามารดา เป็นต้น
  • ประกันชีวิต ประเภทที่ 2 คือ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance) เป็นแบบประกันที่มุ่งเน้นให้ผลตอบแทนในระหว่างสัญญาหรือเมื่อครบกำหนดสัญญา พร้อมทั้งให้ความคุ้มครองชีวิตด้วยเช่นกัน โดยมากระยะเวลาความคุ้มครองจะไม่ยาวนัก เช่น 5 ปี 10 ปี 20 ปี แต่ก็มีที่คุ้มครองจนครบอายุ 60 ปี โดยผลตอบแทนที่จ่ายคืนผู้เอาประกันภัย ในกรณีมีชีวิตอยู่ มักจะมีกำหนดไว้ชัดเจนว่าจะจ่ายเมื่อครบปีกรมธรรม์ที่เท่าไหร่บ้าง ซึ่งจะมีทั้งที่ “กำหนดจำนวนเงินที่แน่นอน” หรืออยู่ในลักษณะ “เงินปันผล” ที่จะแปรผันไปตามผลการลงทุนของบริษัทในขณะนั้น
  • ประกันชีวิต ประเภทที่ 3 คือ ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance) แบบประกันที่ให้ความคุ้มครองชีวิต โดยบริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้กับผู้รับผลประโยชน์ ก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตเท่านั้น จะไม่จ่ายให้เมื่อผู้เอาประกันอยู่จนครบกำหนดสัญญา เป็นแบบประกันชีวิตที่มีค่าเบี้ยประกัน “ต่ำที่สุด” เมื่อเปรียบเทียบกับความคุ้มครองชีวิตที่ได้รับ มีระยะเวลาความคุ้มครองกำหนดไว้แน่นอน เช่น 5 ปี 10 ปี ฯลฯ มักจะทำไว้เพื่อเน้นความคุ้มครองชีวิต สร้างความอุ่นใจให้กับคนที่รัก รวมถึงเป็นการสร้างหลักประกันให้กับครอบครัว
  • ประกันชีวิต ประเภทที่ 4 คือ ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuity Insurance) เพื่อเป็นการคุ้มครองรายได้หลังเกษียณเป็นหลัก โดยบริษัทประกันชีวิตจะเริ่มจ่ายเงินคืนตามกรมธรรม์ให้ตั้งแต่เมื่อครบอายุ 55 ปี หรือ 60 ปี และจะมีการจ่ายต่อเนื่องเป็นงวดๆ ในช่วงหลังวัยเกษียณตามสัญญาไปจนกว่าจะครบกำหนด เช่นจ่ายเงินบำนาญเริ่มตั้งแต่อายุครบ 55 ปี ไปจนถึง 90 ปี เพื่อเป็นแหล่งรายได้หลังเกษียณที่แน่นอน เพราะการมีชีวิตอยู่ยาวนานโดยไม่มีรายได้เพียงพอก็นับเป็นความเสี่ยงเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ก่อนการซื้อประกันชีวิตทุกครั้งคุณต้องเปรียบเทียบประกันชีวิตแต่ละบริษัทด้วย ซึ่งการเปรียบเทียบประกันชีวิตแต่ละบริษัทจะช่วยให้คุณเห็นข้อแตกต่างได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญการเปรียบเทียบประกันชีวิตแต่ละบริษัทจะช่วยให้คุณสามารถเลือกแผนประกันชีวิตที่ตอบโจทย์ในราคาที่คุ้มมีสุดได้นั่นเอง